โครงสร้างของดอกลำโพง ที่ควรรู้ (ส่วนประกอบของดอกลำโพง)

kane24

Well-known member

โครงสร้างของดอกลำโพง ที่ควรรู้ (ส่วนประกอบของดอกลำโพง)​

โครงสร้างของดอกลำโพง นั้นมีอะไรบ้าง? สวัสดีครับแฟนเพจทุกท่านวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ ส่วนประกอบของดอกลำโพงว่า ในลำโพง 1 ดอกที่เราใช้ฟังใช้รับงานหรือทำกิจกรรมต่างๆตั้งแต่ดอกลำโพงที่ใช้ในบ้านจนถึงงานกลางแจ้ง PA ขนาดใหญ่ เช่นลำโพงที่ใช้ในงานมหกรรกีฬา งานมหกรรมคอนเสิร์ต
ส่วนประกอบของดอกลำโพง

ขอบคุณรูปภาพจาก บทความ Parts of a Speaker
เรามาดูส่วนประกอบว่าในดอกลำโพง 1 ดอกมีอะไรบ้าง และส่วนประกอบต่างๆทำหน้าที่อะไรบ้าง พร้อมแล้วมาชมกันเลยครับ

1. บาสเค็ท / เฟรม / เซสซี (Basket / Frame / Chassis)

บาสเค็ท / เฟรม / เซสซี (Basket / Frame / Chassis)

ส่วนประกอบที่ 1 ก็คือโครงสร้างของลำโพง ซึ่งนิยมทำมาจากวัสดุต่างๆเช่นเหล็กกล้า อลูมิเนียม และพลาสติก โดยมีความแข็งแรง เพื่อให้ส่วนประกอบของลำโพงอยู่ในต่ำแหน่งที่บาลานซ์เหมาะสม ไม่ผิดเพี้ยนเมื่อเวลาที่มีการขยับหรือทำงานของดอกลำโพง นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยลดอุณหภูมิที่เกิดขึ้นภายใน Voice Coil อีกด้วย

2. สไปเดอร์ (Spider)

ส่วนประกอบส่วนที่ 2 ก็คือสไปเดอร์ สไปเดอร์มีความสำคัญอย่างไรของลำโพง เรามาดูกันต่อเลยครับ
สไปเดอร์ (Spider)

เป็นส่วนประกอบของดอกลำโพงที่มีความยืดหยุ่น ลักษณะเหมือนลูกฟูก ทำหน้าที่รองรับการเคลื่อนที่ของ Voice Coil (วอยท์คอยล์) ให้อยู่ในตำแหน่งที่สมดุลบาลานซ์เมื่อเวลาที่มีสัญญาณป้อนเข้ามาในดอกลำโพง เซอร์ราวด์ และ สไปเดอร์ มีความสำคัญมากในช่วงย่านเสียงที่มีความถี่ต่ำ ซึ่งสไปเดอร์เป็นตัวกำหนดกขอบเขตการเคลื่อนที่ของ โคนและวอยซ์คอยล์ ว่าสามารถเคลื่อนที่ได้มากน้อยแค่ไหน ดังนั้นจึงส่งผลกระทบต่อเสียงที่เกิดขึ้นมา

3. โคน (Cone) / ไดอะแฟรม (Diaphragm) หรือ กรวยลำโพง

ส่วนประกอบส่วนที่ 3 โคนหรือไดอะแฟรม มีหน้าที่ทำอะไร ดูภาพประกอบเพื่อความเข้าใจมากขึ้นครับ
โคน (Cone) / ไดอะแฟรม (Diaphragm) หรือ กรวยลำโพง

เป็นส่วนประกอบโครงสร้างของลำโพงที่มีการเคลื่อนที่คล้ายๆลูกสูบเมื่อมีสัญญาณเข้ามา การเคลื่อนที่นั้นจะทำให้อากาศรอบๆ Cone มีการบีบอัด และเกิดขึ้นมาเป็นเสียง

4. ดัสแค็ป (Dust Cap) / โดม (Dome)

ส่วนประกอบที่ 4 ดัสแค็ปหรือส่วนของโดมลำโพง มีหน้าที่อะไร ติดตามกันต่อครับ
ดัสแค็ป (Dust Cap) / โดม (Dome)

เป็นส่วนประกอบที่มีหน้าที่หลักในการป้องกันสิ่งสกปรก เศษต่างๆ ไม่ให้เข้าไปสู่ Voice Coil ซึ่งถ้าหากไม่มีโดมหรือดัสแค็ปนี้ ฝุ่นก็จะสามารถเข้าไปจับที่วอยท์คอยล์ได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความเพี้ยนของเสียงที่จะเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่รักษารูปทรงของ Cone เวลาที่ป้อนสัญญาณความถี่เสียงต่ำ เพราะว่าช่วงย่านความถี่เสียงต่ำจะมีการสั่นและเคลื่อนที่ของ Cone ที่เยอะกว่าช่วงความถี่เสียงสูง รวมไปถึงสามารถลดความร้อนที่เกิดขึ้นใน Voice Coil โดยให้อากาศไหลผ่านเข้าไป

5. Surround เซอร์ราวด์

ส่วนประกอบที่ 5 เซอร์ราวด์ ซึ่งในส่วนนี้ บางท่านจะเรียกว่าขอบของดอกลำโพงนั่นเอง มันมีหน้าที่และสำคัญอย่างไรบ้าง
สไปเดอร์ (Spider)

เป็นส่วนประกอบของลำโพงที่ทำมาจากวัสดุที่มีความยืดหยุ่น ไม่ว่าจะเป็น ยาง พลาสติก หรือผ้า วัสดุที่แตกต่างกันจะมีผลต่อเสียงที่แตกต่างกันออกไปด้วยเช่นกัน โดย เซอร์ราวด์ Surround จะทำการยึดเกาะระหว่าง Cone และ Basket โดย Surround จะทำหน้าที่บ่งบอกขอบเขตการเคลื่อนที่ของ Cone ว่าสามารถขยับได้มากน้อยเพียงใด ทำให้ Cone เคลื่อนที่อยู่ในตำแหน่งที่บาลานซ์และสมดุลไม่หลุดออกไปจากลำโพงตามความแรงของสัญญาณที่ป้อนเข้ามา

6. วอยซ์คอยล์ (Voice Coil) / ขดลวด

ส่วนประกอบที่ 6 วอยซ์คอยล์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญมากในดอกลำโพง
วอยซ์คอยล์ (Voice Coil) / ขดลวด

ขดลวดซึ่งปกติทำจากทองแดงและอลูมิเนียมพันรอบ Former ปลายของ Voice Coil จะติดอยู่กับ Cone โดยกระแสจะไหลผ่านเข้ามาทาง Voice Coil และเกิดการสร้างสนามแม่เหล็กขึ้นมา โดยสนามแม่เหล็กที่ถูกสร้างขึ้นมานี้จะไปตัดกับสนามแม่เหล็กถาวรที่ถูกสร้างโดยแม่เหล็กทำให้เกิดการขยับของ Cone ขึ้น – ลง กลายเป็นเสียงที่ดังออกมา นอกจากนี้ Voice Coil ของลำโพงยังสามารถแบ่งออกเป็นSingle Voice Coil ซิงเกิ้ลวอยซ์คอยล์ (แบบเดี่ยว) และ Dual Voice Coil ดูอัลวอยซ์คอยล์ (แบบคู่) สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม

7. แม็คเนท (Magnet) / แม่เหล็ก

แม็คเนท (Magnet) / แม่เหล็ก

ส่วนประกอบที่ 7 ก็คือแม็กเนทหรือแม่เหล็กของดอกลำโพง ซึ่งเป็นแม่เหล็กถาวรที่มีการสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าตัดกับสนามแม่เหล็กที่เกิดจาก Voice Coil ซึ่งการตัดกันทำให้เกิดการขยับของ Cone ขึ้น – ลง ลำโพงส่วนใหญ่แม่เหล็กจะมีรูปร่างเป็นวงแหวนทำมาจากเซรามิก ระบายแรงดันที่เกิดการบีบอัดที่ถูกสร้างขึ้นมาจาก Cone และป้องกัน Voice Coil ไม่ให้มีอุณหภูมิสูง ป้องกันสิ่งสกปรกที่จะเข้าไปยัง Vent

8. ฟอร์เมอร์ (Former)

ฟอร์เมอร์ (Former)

ส่วนประกอบที่ 8 ทำหน้าที่ซึ่งจะเป็นส่วนของโครงสร้างของลำโพง มีรูปทรงกระบอก ทำจากวัสดุต่างๆ โดยจะมี Voice Coil พันอยู่รอบๆ ของมันอีกทีหนึ่ง

9. เวนท์ (Vent)

เวนท์ (Vent)

ส่วนประกอบที่ 9 เว้นท์ ทำหน้าที่ระบายแรงดันที่เกิดการบีบอัดที่ถูกสร้างขึ้นมาจาก Cone และป้องกัน Voice Coil ไม่ให้มีอุณหภูมิสูง

10. สกรีน (Screen)

สกรีน (Screen)

ส่วนประกอบที่ 10 มีหน้าที่ ป้องกันสิ่งสกปรกหรือเศษต่างๆที่จะเข้าไปยัง Vent อีกทีหนึ่ง

11. เทอมินอลส์ (Terminals) / ขั้วต่อ

เทอมินอลส์ (Terminals) / ขั้วต่อ

ส่วนประกอบสุดท้าย ส่วนประกอบที่ 11 มีหน้าที่ดังนี้ เป็นขั้วต่อของลำโพง ซึ่งมีหน้าที่รับสัญญาณไฟฟ้าเพื่อให้ผ่านเข้าสู่ Voice Coil โดยปกติจะมีขั้วบวกและขั้วลบ โดยจะมีสัญลักษณ์บอกขั้วอย่างชัดเจน หรือบางรุ่นบางยี่ห้ออาจมีการแต้มสีเพื่อบ่งบอกขั้วบวกลบด้วย กรณีที่เป็น Dual Voice Coil จะมีขั้วต่อลำโพงถึง 2 จุด
นี่ก็เป็นส่วนประกอบต่างๆของดอกลำโพงใน 1 ดอก การจะเลือกซื้อดอกลำโพงสักชุดมาใช้งานนอกจาก ส่วนประกอบต่างๆที่ต้องใช้ในการพิจารณาแล้ว สเปคของดอกลำโพง การตอบสนองได้กว้างกี่เฮิร์ตถึงกี่กิโลเฮิร์ต ครอบคลุมหรือตรงกับลักษณะที่เราจะนำไปใช้งานหรือไม่ ให้กำลังวัตต์ RMS ที่กี่วัตต์ และสิ่งที่ต้องคำนึงอันดับต้นๆเมื่อจะเลือกซื้อดอกลำโพงเรื่องของ dB สำคัญจริงๆ หลายท่านคำนึงเฉพาะกำลังวัตต์ เอาให้วัตต์เยอะไว้ก่อน ซึ่งลำโพงที่ดีควรมีค่า dB ที่สูงประกอบด้วยเป็นหลัก ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ บทความ ค่า SPL ของลำโพงที่ควรรู้ หวังว่าบทความนี้จะเกิดประโยชน์กับทุกท่าน
 
Top